top of page

รถไฟลอยน้ำ กับ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หนึ่งเดียวในไทย

Updated: Dec 15, 2021


รถไฟลอยน้ำ กับ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หนึ่งเดียวในไทย

1 ปี ที่เปิดให้รถไฟวิ่งไปจอดเพียง 3 เดือนเท่านั้น กับทริปนั่งรถไฟลอยน้ำ ชมวิวกลางเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนคันดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่สร้างมากักเก็บน้ำ และแก้ปัญหาหน้าแล้งของคนในลพบุรีและสระบุรี


เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นนามที่ได้รับพระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ 9 มีความหมายว่า "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่กักเก็บน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ” โครงการตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่นอกจากจะเป็น เขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แล้ว ยังลึกและยาวที่สุดอีกด้วย




เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 มีกรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบ แล้วเสร็จในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 รวมเวลา 5 ปี โดยพระองค์ได้ทรงเสด็จมาทำพิธีเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 ถือเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำจากสายพระเนตรอันยาวไกลของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยให้ประชาชนได้อย่างแท้จริง


เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองบัว ต. หนองบัว อ. พัฒนานิคม จ. ลพบุรี และบ้านคำพวน ต. คำพวน อ. วังม่วง จ. สระบุรี เชื่อมทั้งสองจังหวัดเข้าด้วยกัน



“แม่น้ำป่าสัก” เป็นแม่น้ำสายสำคัญของชาวลพบุรีและสระบุรี ประชาชนได้รับประโยชน์จากแม่น้ำแห่งนี้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรมหรือการประมง เนื่องจากอดีตเกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ของจังหวัดลพบุรี เช่น ตำบลมะนาวหวาน ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม ตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล และหมู่บ้านใกล้เคียง รวมไปถึงจังหวัดสระบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร และปริมาณฑล ในช่วงเดือนสิงหาคม-เดือนตุลาคมของทุกปี ส่วนช่วงเดือนมกราคม-เดือนพฤษภาคม ก็จะประสบภาวะแห้งแล้งขาดแคลนน้ำที่เกิดขึ้นทุกปี จึงทำให้ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ดำริในการแก้ไขปัญหาภาวะขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง และปัญหาน้ำท่วมในหน้าน้ำหลาก ดังประโยชน์ของโครงการที่เป็นรูปธรรมดังนี้


  • เป็นแหล่งสำหรับอุปโภค-บริโภค ของชุมชนต่างๆ ในเขตจังหวัดลพบุรี (อำเภอนารายณ์ และอำเภอพัฒนานิคม) จังหวัดสระบุรี (อำเภอวังม่วง และอำเภอแก่งคอย) อีกทั้งชุมชนขนาดย่อมใกล้เคียง

  • เป็นแหล่งน้ำสำหรับเกษตรกร พื้นที่ชลประทานที่เกิดขึ้นใหม่ ในเขตจังหวัดลพบุรี และสระบุรี มากถึง 174,500 ไร่

  • เป็นแหล่งน้ำช่วยเสริมพื้นที่ชลประทานในทุ่งเจ้าพระยาฝุ่งตะวันออกตอนกลาง กว่า 2,200,000 ไร่ ซึ่งเป็นการลดการใช้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยสามารถนำน้ำจากแม่น้ำป่าสักไปใช้ได้โดยตรงในเขตจังหวัดลพบุรีและสระบุรี

  • เป็นแหล่งน้ำเพื่ออุตสาหรรมในจังหวัดลพบุรี และสระบุรี

  • เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและการประมงน้ำจืดขนาดใหญ่

  • ช่วยการคมนาคมทางน้ำในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง

  • ป้องกันอุทกภัยพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก เขตจังหวัดลพบุรี และสระบุรี รวมถึงช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อีกด้วย

  • ช่วยการคมนาคมทางน้ำในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง

  • ช่วยแก้ปัญหาน้ำเสียในลุ่มแม่น้ำป่าสักตอนล่าง

  • เป็นแหล่งน้ำเสริมเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล


นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจที่มีชื่อเสียงและโดดเด่นของจังหวัดลพบุรี ที่สายท่องเที่ยวต้องมาอย่างน้อยสักครั้ง แหล่งท่องเที่ยวอาทิ

  • ในฝั่งลพบุรี คือ อาคารอเนกประสงค์ริมอ่างเก็บน้ำ จุดชมวิวริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หอคอยเฉลิมพระเกียรติ พิพิธภัณฑ์เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สินเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งมีบริการรถตัวหนอน ชมสันเขื่อนไป-กลับยาว 9,720 เมตร

  • ฝั่งสระบุรี คือ พระพุทธรัตนมณีมหาบพิตรชลสิทธิ์มงคลชัย หรือ หลวงปู่ใหญ่ป่าสัก ประทับ ณ บริเวณท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์


และที่ไฮไลท์สุด สุด คือ...


ที่หยุด รถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

หรือ Pasak Jolasid Dam เป็นที่หยุดรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่บริเวณเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี ถือเป็นเขตรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ จุดประสงค์หลักก็เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยการรถไฟจัดขบวนรถท่องเที่ยววิ่งในช่วงฤดูกาลน้ำเต็มเขื่อน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ของทุกปี จากกรุงเทพฯ ไป เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และจอดขบวนรถให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสลงไปสัมผัสกับธรรมชาติ และความยิ่งใหญ่อลังการของเขื่อนดินแห่งนี้ เก็บภาพเป็นที่ระลึก และแชร์ไปทั่วโลกให้เป็นที่รู้จักกัน


อันที่จริงก็มีที่มาของเส้นนี้เหมือนกันที่ว่า สืบเนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในเส้นทางรถไฟช่วงแก่งเสือเต้น ถึง สถานีรถไฟสุรนารายณ์ (เดิม) เส้นทางรถไฟอยู่ต่ำกว่าระดับการกักเก็บน้ำของเขื่อน ทำให้ต้องย้ายเส้นทางรถไฟที่ถูกน้ำท่วมให้ทันกับการสร้างเขื่อน พร้อมทั้งสร้างที่หยุดรถไฟบริเวณดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ทางรถไฟที่ย้ายมาสร้างใหม่อยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำเป็นระยะทาง 24 กิโลเมตร เมื่อสร้างเสร็จก็เริ่มมีการเปิดเส้นทางเดินรถผ่านเส้นทางดังกล่าว ซึ่งเราจะมองเห็นขบวนรถวิ่งบนสันเขื่อนลัดเลาะไปข้างอ่างเก็บน้ำ เมื่อมองดูเสมือนว่า รถวิ่งไปบนผิวน้ำ จนได้รับชื่อขนานนามจากชาวบ้านที่เห็นว่า "รถไฟลอยน้ำ" ตามที่เราเรียกกันทุกวันนี้ เวลารถไฟวิ่งไป 2 ข้างทางผู้เดินทางก็จะได้ชมทัศนียภาพข้างทางรถไฟอันงดงามของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ พร้อมแสงแดดที่สะท้อนผิวน้ำ ดูระยิบระยับสวยงามตลอดทั้งเส้นทาง

รถไฟลอยน้ำ กับ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หนึ่งเดียวในไทย

สำหรับท่านใดที่รักการเดินทางด้วยรถไฟ รวมไปถึงนัดเที่ยวสายธรรมชาติ สายถ่ายรูป เส้นทางรถไฟลอยน้ำ เที่ยวเขื่อนป่าสักชลสัทธิ์ คือเส้นทางหนึ่งที่ต้องอยู่ใน Bucket list ที่ห้ามพลาดเลยนะครับ

รถไฟลอยน้ำ กับ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หนึ่งเดียวในไทย

ใครที่ต้องการเดินทางไปเที่ยวกับรถไฟลอยน้ำขบวนนี้ ไปชมวิวที่กว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา พร้อมไปดูทุ่งดอกทานตะวันขึ้นชื่อของลพบุรี พร้อมบริการอาหารกลางวันเมนูแบบจัดเต็ม รถตู้ปรับอากาศนั่งสบายๆ ไม่ต้องไปเบียดใคร พร้อมไกด์มืออาชีพที่จะมาเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจ ให้ความรู้ ของเขื่อนป่าสักฯแห่งนี้ พวกเรา #GetawayHolidays มีแพคเกจทริป #วันเดียวเที่ยวได้ กับ ทริปรถไฟลอยน้ำ เที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ พร้อมให้บริการทุกท่านแล้ว กับ 3 วันเดินทางสุด Exclusive คือ 26 ธันวาคม 2564 / 8 มกราคม 2565 และ 23 มกราคม 2565


และพิเศษ! ทริปนั่งรถไฟหรู SRT Prestige บนทางรถไฟลอยน้ำ เที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แบบ 1 วัน สุดพรีเมี่ยม ที่ไม่เหมือนใคร เดินทาง 14 มกราคม 2565 ... คลิก >

ดูโปรแกรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจ จากลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ 👇



ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ



แอดไลน์


เตรียมพบกับรายการนั่วรถไฟเที่ยวฉะเชิงเทรา 1 วัน ในเร็วๆนี้

อย่าลืม "กดแอดไลน์" เพื่อรับโปรโมชั่นรายการพิเศษก่อนใคร!

Comments


bottom of page