กรุงเบอร์ลิน หนึ่งในเมืองหลวงชั้นนำระดับโลก เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของประเทศเยอรมนีและทวีปยุโรปที่คอยดึงดูดผู้คนจากชาติต่าง ๆ มากมาย ให้มาเยือนในแต่ละปี ไม่ใช่เพียงแค่ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม หรือความยิ่งใหญ่ตระการตาในแต่ละสถานที่เท่านั้น แต่ละจุดยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เชื่อมโยงถึงประวัติศาสตร์ได้อย่างน่าสนใจ จนเรามิอาจมองข้ามไปได้ ดังในบทความในตอนนี้ที่เราจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จัก “กำแพงเบอร์ลิน” เจ้ากำแพงยักษ์ที่ตั้งอยู่ตรงกลางของเมืองหลวง หลักฐานชิ้นสำคัญที่หลงเหลือมาจากยุคสงครามเย็น จนนำมาสู่การคั่นเยอรมนีออกเป็น 2 ส่วนคือ "เยอรมันตะวันตก" กับ "เยอรมันตะวันออก" ให้ออกจากกัน แม้ว่าเราจะอาศัยอยู่ในประเทศเดียวกัน เหตุการณ์นี้กินเวลาไปร่วม ๆ 30 ปี พร้อมแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวที่ห้ามพลาดสำหรับนักท่องเที่ยวมือใหม่ในดินแดนแห่งเมืองเบียร์
ประวัติความเป็นมาของกำแพงเบอร์ลิน
นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1949 เป็นต้นมา ยุคสมัยหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงไป ซึ่งในครั้งนั้นผู้ได้รับชัยชนะ นั่นก็คือกลุ่มสัมพันธมิตร ที่ประกอบไปด้วย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และโซเวียต ก็ได้เรียกค่าชดใช้ที่เกิดขึ้นจากฝ่ายผู้แพ้สงคราม นั่นก็คือ ฝ่ายอักษะ ได้แก่ เยอรมนี ญี่ปุ่น และอิตาลี การเป็นผู้แพ้ของทั้ง 3 ประเทศมีราคาที่ต้องจ่ายที่สูงมากๆ แทบจะเงินหมดประเทศกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะความเสียหายตามประเทศต่างๆ รัฐบาลในช่วงนั้นของทั้ง 3 ประเทศเมื่อเริ่มเสื่อมอำนาจ ประเทศเหล่านี้จึงอ่อนแอ จนในที่สุดกลุ่มผู้ชนะจึงได้ลงนามร่วมกันในการเข้ามาปกครองประเทศผู้แพ้ หนึ่งในนั้นคือเยอรมนี หลังจากนั้นเยอรมนีจึงถูกแบ่งการปกครองออกเป็น 4 ส่วน โดยกลุ่มอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ได้ปกครองดินแดนบริเวณตะวันตกทั้งแถบ ส่วนโซเวียตหรือรัสเซียนั้นปกครองดินแดนส่วนตะวันออกเอง แม้ในช่วงสงครามโลกจะร่วมมือกันได้ แต่หลังจากนั้น ก็เกิดการต่อสู้ในอุดมการณ์ทางการเมืองที่มองเห็นไม่ตรงกัน ที่สำคัญยิ่งในปัจจุบัน นั่นก็คือ การสู้กันระหว่าง ระบบเสรีทุนนิยม กับ ระบบคอมมิวนิสต์
จนในช่วงปี ค.ศ.1961 เยอรมันตะวันออกดินแดนที่ถูกปกครองภายใต้อำนาจกลุ่มโซเวียต พร้อมกันนี้ยังเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของประเทศนี้มาก่อนด้วยอย่าง กรุงเบอร์ลิน ก็ได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนจาก 4 ประเทศ ฝั่งพื้นที่ที่ดูแลโดยโซเวียตนั้นกลับเริ่มถูกก่อกำแพง สร้างลวดหนามขึ้นแล้ว พอรุ่งเช้าชาวเบอร์ลินต้องตกอกตกใจกันเป็นอย่างมาก ที่อยู่ๆก็เหมือนถูกขังเอาไว้ ในช่วงแรกเป็นเพียงกำแพงเล็ก ไม่สูงมาก สามารถปีนป่ายหลบหนีข้ามไปยังอีกฝั่งได้ จนเริ่มมีประชาชนอพยพหลบหนีเพื่อข้ามไปเยอรมันตะวันตกกันมากขึ้น ทางทหารโซเวียตจึงก่อกำแพงเสริมความแข็งแรงด้วยคอนกรีตสูง ทำให้ปีนป่ายได้ยากยิ่งขึ้น รวมถึงวางลวดหนาม มีหลุมระเบิด พร้อมทหารยามคอยเฝ้าตรวจตาหาผู้พยายามหลบหนีตลอด 24 ชั่วโมง กำแพงกั้นดินแดนแห่งนี้ยั่งยืนกินเวลายาวนานถึง 28 ปี ก่อนจะค่อย ๆ ล่มสลายตามอำนาจของโซเวียตที่ค่อย ๆ สลายตัวลงไปนั่นเอง จนปี ค.ศ. 1990 เยอรมนีจึงได้กลับมารวมดินแดนของทั้ง 2 ฟากเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง
แล้วปัจจุบัน “กำแพงเบอร์ลิน“ เป็นอย่างไรบ้าง
หากนับในหน้าประวัติศาสตร์แล้ว กำแพงเบอร์ลิน ไม่ใช่แค่กำแพงที่ถูกสร้างมาคั่นกลางเฉพาะเยอรมันทั้ง 2 ด้านเท่านั้น แต่ยังมีนัยยะที่สำคัญต่อทวีปยุโรปอยู่ด้วย จนถูกเรียกอีกฉายาว่า "ม่านเหล็ก" โดยในช่วงปี ค.ศ.1961 เป็นต้นมา สหภาพโซเวียตอยู่ในยุคที่เรืองอำนาจมากๆ แต่ด้วยแนวคิดในการปกครองที่ต่างกัน ทำให้ 2 กลุ่มใหญ่นี้คอยคานอำนาจกันอยู่เรื่อยมา โดยนัยยะนึงของกำแพงยักษ์นี้ยังเหมือนสิ่งคั่นกลางระหว่าง 2 ระบอบการปกครอง ฝั่งที่เป็นตะวันตกที่บริหารแบบเสรีนิยม ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ อยู่ดีกินดี ประชาชนมีสิทธิที่จะเลือกแก่ตนเองได้ ส่วนอีกฝั่งเป็นยุโรปฝั่งตะวันออก รัฐบาลควบคุม สอดส่อง ประชาชนอย่างใกล้ชิด รวมถึงการมีอำนาจเข้าถึงทรัพยากรไว้ได้ในมือรัฐเอง จนนำมาสู่การอพยพ ย้ายถิ่นไปยังฝั่งตะวันตกกันมากขึ้น รัฐบาลจึงเริ่มสร้างกำแพงขึ้นมาเพื่อห้ามคนเคลื่อนย้ายหลบหนีไปอีกฝั่ง เพราะรัฐบาลตรวจจับอย่างเข้มข้น จากกำแพงเตี้ยก็ค่อยๆสูงขึ้น บางจุดสูงกว่า 4 เมตร มีความยาวทั้งหมด 155 กิโลเมตร พร้อมวางกับดักไว้คอยดักผู้หลบหนีมากมาย ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตระหว่างหลบหนีเป็นจำนวนมาก ซึ่งกินเวลาไปกว่า 28 ปี จนสุดท้ายเมื่อในยุค 1989 รัฐบาลโซเวียตเสื่อมอำนาจลง ประเทศในการปกครองก็ค่อยๆประกาศตนเป็นรัฐอิสระ แยกออกมาได้มากกว่า 10 ประเทศ โดยเริ่มใช้ระบอบประชาธิปไตยเข้ามาบริหารประเทศแทน จึงถือเป็นการยุติยุคสงครามเย็นอย่างเต็มตัว
ปัจจุบันกำแพงเบอร์ลินหลงเหลืออยู่เพียงแค่ซากปรักหักพังเท่านั้น พร้อมกับตามผนังกำแพงก็จะมีศิลปินมาเพ้นท์ภาพ กราฟิตี้ สร้างงานศิลปะตามแบบที่ตนต้องการทั้งโคว้ดประโยค ภาพวาด ที่สื่อให้เห็นถึงความเจ็บปวดที่หลงเหลือจากสงครามเย็น ที่สร้างบาดแผล การสูญหาย จากการที่ไม่พบเจอญาติพี่น้องยาวนานเกือบ 30 ปีที่ส่งผลมาถึงคนรุ่นปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับสิทธิ เสรีภาพกับประชาชน แถมกำแพงเบอร์ลินเองก็ยังคงเป็นจุดเช็คอิน ประจำเมืองหลวงที่คุณต้องห้ามพลาด ที่ใครผ่านมากรุงเบอร์ลินแล้วหากไม่ได้มาเช็คอินที่นี่ เหมือนไม่ได้มาเลยล่ะ โดยทุกๆวันที่ 9 พฤศจิกายน ของทุกปี ที่เป็นวันทำลายกำแพงยักษ์นี้ก็จะมีประชาชน นักท่องเที่ยว ผู้สื่อข่าว มารวมตัวกันบริเวณแห่งนี้กันเป็นจำนวนมาก เพื่อเฉลิมฉลอง และระลึกถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อย่างเต็มที่
นอกจากความน่าสนใจ สาระความรู้รอบๆกำแพงเบอร์ลินแล้ว ในเบอร์ลินยังมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ หรือ พิพิธภัณฑ์เจ๋งๆ ที่ตั้งอยู่อย่างมากมายเต็มไปหมด ซึ่งไม่สามารถเที่ยวได้ครบในวันเดียวอย่างแน่นอน แล้วจะมีจุดไหนเป็นจุดที่ห้ามพลาดชมกันบ้าง พบกันได้ในเนื้อหาบทต่อไปนะครับ พร้อมกันนี้หากมีข้อสงสัยที่เกี่ยวข้องกับจะต้องวางแผนการเดินทางโดยรถไฟในยุโรปอย่างไรทั้งในประเทศเยอรมนี สวิสเซอร์แลนด์ หรือประเทศอื่นๆเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามกับเจ้าหน้าที่ของเราได้เลยที่ 02-653-2050
Comments